เราใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลาไหนบ้าง?

ประเด็นของการเลือกใช้พลังงานโซล่าเซลล์ก็น่าจะเป็นเรื่องค่าไฟแพง แต่ค่าไฟจริงๆนั้นถูกใช้ในช่วงเวลาไหนและคิดเป็นอัตราส่วนเท่าไหร่ล่ะ❓ 📈ซึ่งสิ่งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลที่สามารถชี้วัดได้ว่าใครเหมาะสมจะใช้โซล่าเซลล์ระบบไหน และระบุได้ว่าขนาดกำลังผลิตที่ใช้ควรเป็นขนาดเท่าไหร่ ตอนนี้เราจึ่งได้พัฒนาอุปกรณ์สำหรับวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าสำหรับตรวจดูข้อมูลดังกล่าว ✅สามารถเลือกดูเป็นช่วงระยะเวลาที่สนใจได้ ✅วิธีดูง่ายๆ โดยผ่านลิ้งค์เว็ป ✅การวิเคราะห์แม่นยำ ✅ติดตั้งง่าย ✅ปลอดภัย ทำให้สามารถนำเสนอสิ่งที่เหมาะสมที่สุดของแต่ละบ้านหรืออาคารได้โดยไม่ต้องคาดคะเนหากสนใจต้องการให้เราเข้าวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าสามารถติดต่อเราได้ครับ ยินดีให้คำปรึกษา

แผงโซล่าเซลล์ควรหันไปในทิศทางใด

ประเทศไทย “ดวงอาทิตย์จะขึ้นจากทิศตะวันออกและอ้อมไปทางทิศใต้เสมอ” ดังนั้นทิศเหนือของประเทศไทยจึงเป็นทิศที่ได้รับแสงแดดน้อยที่สุด ส่วนในทิศตะวันออกและตะวันตกนั้น จะได้รับแสงแดดในปริมาณที่มากพอสมควร แต่จะได้รับแสงแดดเพียงแค่ช่วงเช้า – เที่ยงเท่านั้น ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตอาจทำได้ไม่เต็มที่นัก ทิศใต้ เป็นจุดหมายที่แสงแดดจะเดินทางมาจากทิศตะวันออกเสมอ ทำให้ทิศใต้ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหันแผงโซลาร์ฯ ไปทาง “ทิศใต้” เสมอ และในทางที่ดีควรวางแผงโซลาร์ฯ เอียงประมาณ 15 องศา เพื่อให้แผงได้รับแสงและผลิตกระแสไฟฟ้าได้เต็มที่ ทั้งนี้ก็ขึ้นกับปัจจัยอื่นๆ ณ สถานที่ติดตั้งด้วยเช่น ลักษณะโครงสร้างอาคาร ความเหมาะสมของจุดติดตั้ง และอื่นๆที่อาจมีผลทำให้ไม่สามารถติดตั้งแผงในฝั่งทิศใต้ได้

แผงโซล่าเซลล์ที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากฝน!!

การผลิตไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์ที่แปรผันไปตามความเข้มของแสงแดดนั้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต หลังจากที่ทางมหาวิทยาลัยซูโจว ในประเทศจีนได้มีการคิดค้นและประดิษฐ์แผงโซล่าเซลล์ตัวต้นแบบ ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากเม็ดฝนที่ตกลงมา โดยวางชั้นโพลีเมอร์โปร่งใสสองชั้นไว้บนแผงโซล่าเซลล์ เมื่อฝนตกลงบนชั้นโพลิเมอร์และไหลออก แรงเสียดทานจะสร้างประจุไฟฟ้าสถิตย์ ซึ่งสามารถนำไปใช้ผลิตกระเเสไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่ง นั้นทำให้แผงนี้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ทั้งในตอนกลางวันที่มีแสงแดด และในตอนกลางคืนหากมีฝนตกอีกด้วย คาดว่าอีกไม่กี่ปีตัวต้นเเบบนี้จะสามารถพัฒนาจนใช้งานได้จริง เเละอาจพัฒนาต่อเนื่องจนต้นทุนถูกลงในระดับที่สามารถหามาใช้งานได้ในภาคครัวเรือนต่อไป

บ้านโคราช ไฟ LED หัวเสา

ในบางครั้งแสงสว่างก็หมายถึงความปลอดภัย👀 บ้านลูกค้าหลังนี้เลือกเปลี่ยนโคมไฟ Solar Cell หัวเสา 2 W <—แค่ 2 วัตต์ !!!!! สว่างทั้งซอย 💡จะ Day Light / Warm White ก็เลือกเปลี่ยนได้ตลอด 💡มีแบตสำรองไฟในตัวไม่ต้องเดินสายไฟให้ยุ่งยาก 💡สั่งการผ่านรีโมท ไม่ต้องคอยปิดเปิดสวิตซ์ 💡ตั้งเวลาเปิด-ปิด ตามดวงอาทิตย์ เช้าดับกลางคืนสว่าง

บ้านสวนบุรีรัมย์ โซล่าเซลล์ On-Grid 3 kW 1 เฟส

สวัสดีครับ พวกเรา SE&S เป็นบริษัทให้บริการด้านพลังงานครับ วันนี้เรามาดูอีกหนึ่งงานที่จบไปแล้วกับงานติดตั้งชุด 3KW บ้านสวนบุรีรัมย์ ลูกค้ารายนี้มีบ้านอยู่ในพื้นที่สวนทั้งหมด 13 ไร่ ต้องการประหยัดค่าไฟฟ้า และ วางแผนให้กับตัวเองในวัยเกษียณเพื่อที่จะมีแหล่งพลังงานที่ยั่งยืน เห็นเป็นบ้านสวนอย่างนี้ จุดที่ใช้ไฟเยอะเป็นพิเศษคือปั้มน้ำที่ต้องหล่อเลี้ยงพื้นที่ทั้งหมด เราจึงแนะนำชุด On-grid 3 kW ให้กับลูกค้าไว้ใช้งานในยามกลางวัน ผลลัพธ์ที่ได้ ใช้ไฟฟรีตั้งแต่ยังไม่ 8 โมงเช้า อีกทั้งเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่สร้างมลพิษกับสิ่งแวดล้อมอีกต่างหาก สิ่งที่ลูกค้าได้รับ 📝แผงมาตรฐาน Tier 1 ประสิทธิภาพสูง […]

รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า

การเข้ามาของรถยนต์ไฟฟ้าอีกสิ่งที่ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีควบคู่กันไปนั่นก็คือรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าหรือ EV Bike นั่นทำให้เห็นว่าธุรกิจยานยนต์ทุกขนาดมีความตื่นตัวเรื่องการลดมลพิษมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อโลกและคุณภาพชีวิตของประชากรในอนาคตอันใกล้นี้ ทีนี้หากเราปรับเปลี่ยนมาใช้ EV Bike กันมากขึ้นเราจะสามารถลดมลพิษได้เท่าไหร่กัน?   จากข้อมูลของกรมขนส่งทางบกพบว่าประเทศไทยมีการใช้งานรถจักรยานยนต์มากถึง 22 ล้านคัน โดยที่รถจักรยานยนต์ 1 คันจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 45 กรัมต่อกิโลเมตร หรือประมาณ 1 กิโลกรัมทุกๆ 22 กิโลเมตร ดังนั้นในประเทศไทยที่มีระบบขนส่งขนาดเล็กแบบนี้อยู่กระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่เช่น วินมอเตอร์ไซค์ ส่งอาหาร ส่งเอกสาร หรือการเดินทางส่วนบุคคล จึงมีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซด์จากรถจักรยานยนต์เยอะมาก หากมีการปรับเปลี่ยนมาใช้รถ […]

จะดีไหมถ้าเราใช้รถยนต์ไฟฟ้า

ทราบหรือไม่ครับว่า รถยนต์ 1 คัน จะปล่อยไอเสียได้มาเท่าใด และ จะดีกว่าไหมถ้าเราใช้รถยนต์ไฟฟ้า ? สวัสดีครับ บทความวันนี้เราจะมาดูกันว่ารถยนต์ในแต่ละคันนั้น ตลอดช่วงชีวิตของมันได้ปล่อยมลพิษไอเสียให้กับโลกเราไปเทาใดกันบ้าง 1 รถกลุ่ม SUV และรถกระบะ ที่ไม่มีระบบ Hybrid รถกลุ่มนี้ในส่วนใหญ่ของประเทศเรานั้นจะนิยมใช้เป็นเครื่องยนต์ดีเซลซะส่วนใหญ่ ซึ่งเครื่องยนต์ประเภทนี้แหละครับ สร้างเขม่าได้เยอะ เค้าสร้างมลพิษได้ประมาณ 180g/km นั่นหมายความว่า ถ้าหากค่าเฉลี่ยการใช้รถต่อปีอยู่ที่ 20,000 km และ รถถูกเปลี่ยนทุก 10 ปี […]