แนวคิดนี้เกิดขึ้นในช่วงปี 1970 ซึ่งนักประดิษฐ์ในยุคนั้นมีความต้องการที่จะสร้างคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานอยู่ในทุกอุปกรณ์ และทุกอุปกรณ์สามารถทำงานร่วมกันได้หรือที่เราเรียกกันว่า Smart Device นั่นเอง จนในปี 1999 Kevin Ashton นักวิจัยจาก MIT ได้นำเสนอแนวคิดของเซ็นเซอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถทำงานร่วมกันได้ผ่านการอ่านค่า RFID หรือคลื่นวิทยุระบุตัวตน และเป็นจุดกำเนิดของคำว่า IOT โดยอุปกรณ์ IOT ชิ้นแรกของโลกก็คือตู้ ATM ที่มีการอ่านค่าจาก RFID Chip บนบัตร ATM นั่นเอง แต่ว่าในปัจจุบันมีอุปกรณ์หลากหลายอย่างที่เรียกว่า IOT ที่เราได้เคยพบเจอมาแล้วในชีวิตประจำวันแต่อาจยังไม่เคยได้ทราบ

 

ในด้านการใช้งานส่วนตัวและในบ้านหรือที่พักอาศัยต่างๆ เช่น
– หลอดไฟ – ปลั๊กไฟ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ถูกสั่งงานจากระยะไกล
– ประตูรีโมท ที่สามารถสั่งเปิดปิดได้อย่างอัตโนมัติเมื่อมีรถเข้ามาใกล้ในรัศมีที่กำหนด
– กล้องวงจรปิดที่สามารถดูข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ ไปจนถึงสามารถแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์ของเราได้
– ประตูหรือคีย์การ์ด ที่อำนวยความสะดวกในการเข้า-ออก อย่างเป็นระบบ

 

ในด้านอุตสาหกรรมการผลิตตั้งแต่ขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่ และระดับองค์กร
– ระบบควบคุมการทำงานของเครื่องจักรอัตโนมัติต่างๆ ที่สามารถแจ้งเตือนการทำงานของเครื่องจักร และติดตามการบำรุงรักษาได้
– ระบบติดตามสินค้าในโกดังที่จะช่วยระบุสถานที่หรือเชลฟ์ที่จัดเก็บสินค้าได้อย่างแม่นยำ ลดเวลา- การค้นหาสินค้า และการแยกประเภทหมวดหมู่สินค้า
– ระบบการจัดการอาคาร (Building Management System) ที่จะประยุกต์ข้อมูลของอาคารในหลายด้านมารวบรวมกันและแสดงผลในภาพรวมทั้งด้านพลังงาน ข้อมูลการเข้าออกสถานที่ ระบบความปลอดภัย และอื่นๆที่สามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย

 

ในด้านการเกษตร
– ระบบปลูกพืชในโรงเรือนอัจฉริยะ ที่จะสามารถควบคุมทั้งแสง น้ำ ความชื้น และปุ๋ย ได้ตลอดเวลา ทำให้ในบางพื้นที่หมดข้อจำกัดด้านฤดูกาล และยังช่วยเพิ่มผลผลิตให้เป็นไปตามเป้าหมายได้อีกด้วย
– ระบบการเลี้ยงปศุสัตว์แบบอัตโนมัติ การให้อาหาร การควบคุมปัจจัยสภาพอากาศ การเฝ้าติดตามและระบุตัวตนสัตว์เลี้ยง

 

ในด้านการคมนาคม ก็มีการนำมาประยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในปัจจุบัน
– ระบบแสดงผลช่วงเวลาที่รถประจำทางและรถไฟจะมาถึงยังสถานีต่างๆ ซึ่งอัพเดทอย่างเรียลไทม์ ต่อเนื่อง ทำให้ทราบถึงเวลาที่ชัดเจนมากขึ้น
– ระบบติดตามยานพาหนะต่างๆ ทั้งในระดับบุคคล และระดับองค์กร ทำให้สามารถบริหารต้นทุนน้ำมัน และจำกัดเส้นทางให้เดินทางได้รวดเร็วและตรงตามเวลาที่นัดหมายได้ดีขึ้น

 

ในด้านการศึกษา
– อุปกรณ์และเซ็นเซฮร์ตรวจสอบการเคลื่อนไหว ที่ทำให้สามารถตรวจสอบการเข้าร่วมชั้นเรียน และติดตามกิจกรรมของนักเรียนได้มากขึ้น
– ระบบ Smart Classroom ,Smart Board และ VR ที่ทำให้การเรียนนั้นมีความสนุกยิ่งขึ้นและนักเรียนสามารถเข้าใจบทเรียนผ่านการแสดงผลบนจอที่แสดงรายเอียดได้แบบ 3 มิติ เสมือนอยู่ในโลกจริง รวมถึงแชร์ไอเดียหรือความคิดของตนเอง ที่ทุกคนจะสามารถดูและฟังไปพร้อมกันได้
– เพิ่มระดับความปลอดภัยให้กับโรงเรียน ด้วยระบบความปลอดภัยต่างๆ ทั้ง Digital Door Lock ,กล้องวงจรปิด และระบบป้องกันและตรวจสอบบุคคลแปลกหน้าที่จะเข้ามายังสถานศึกษา

 

ในด้านสุขภาพและการแพทย์
– Smart Watch ที่คอยจับข้อมูลการทำงานของร่างกายในทุกขณะ ลดขั้นตอนการตรวจร่างกายในเบื้องต้น ทำให้ผู้ป่วยได้พบแพทย์รวดเร็วมากขึ้น และมีข้อมูลที่แม่นยำมากขึ้น
– การฝังชิป หรืออุปกรณืช่วยการทำงานของร่างกายเอาไว้ในตัวผู้ป่วย ที่จะช่วยให้แพทย์และทีมรักษาสามารถติดตามอาการของผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น
– อุปกรณ์และเซ็นเซอร์ต่างๆ ที่ช่วยเหลือผู้ป่วยทุพพลภาพไม่ว่าจะด้าน ทำให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี สะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

 

ในด้านพลังงาน
– ระบบบริหารจัดการพลังงาน ที่จะทำให้ทราบได้ถึงปริมาณ และเวลาในการใช้พลังงาน นอกจากนี้ยังสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปพิจารณา ลดการใช้พลังงาน ปรับปรุงโครงสร้างระบบ หรือออกแบบติดตั้งระบบพลังงานโซล่าเซลล์หรือพลังงานทางเลือกอื่นด้วย
– ระบบควบคุมการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อื่นๆ ตามช่วงเวลาที่เหมาะสม หรือตามเงื่อนไขที่ต้องการ ทำให้การใช้พลังงานไม่สิ้นเปลือง และใช้เฉพาะที่จำเป็น

 

ในด้านสิ่งแวดล้อม
– การตรวจระดับสภาพแวดล้อม ทั้งอุณหภูมิ สภาพอากาศ ฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ ที่แสดงผลบนอุปกรณ์เช่นจอ LED ที่ติดตั้งในพื้นที่ และส่งข้อมูลเข้าศูนย์กลางเพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติ สามารถนำไปวิเคราะห์และแจ้งเตือนผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ต่อไป
– การตรวจสอบคุณภาพแหล่งน้ำและระดับน้ำ ที่มีผลกระทบต่อชุมชนใกล้เคียงและสามารถส่งข้อมูลเพื่อแจ้งเตือนอันตรายได้ ทำให้ผู้อยู่อาศัยและผู้สัญจรในบริเวณใกล้เคียงมีความปลอดภัยมากขึ้น

 

จะเห็นว่าระบบและอุปกรณ์ IOT นั้นช่วยให้ขั้นตอนการทำงานลดลง อำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ช่วยประหยัดเวลาให้กับเราได้มากเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังทำให้เรามีข้อมูลเพื่อการนำไปวิเคราะห์ปรับปรุงระบบ สินค้า หรือปัจจัยอื่นๆได้อย่างต่อเนื่องในอนาคตอีกด้วย

 

ทั้งนี้การใช้งานระบบ IOT นั้นก็ยังคงมีความเสี่ยงเนื่องจากอุปกรณ์ต่างๆระมีการส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันอย่างต่อเนื่อง และข้อมูลเหล่านี้จะถูกแลกเปลี่ยนกันผ่านระบบคลาวด์หรือระบบฐานข้อมูล ที่จะไม่สามารถทำงานได้เลยหากไม่มีอินเทอร์เน็ต หรือระบบเน็ตเวิร์คเชื่อมต่อเพื่อส่งข้อมูลออกไป และนอกจากนี้ตัวระบบข้อมูลอาจมีการป้องกันไม่เพียงพอ แต่จะสามารถเฝ้าระวังและดูแลได้โดย
– การติดตั้งระบบไฟฟ้าสำรองสำหรับอุปกรณ์อินเทอร์เน็ต หรือเน็ตเวิร์ค
– การอัพเดทเฟิร์มแวร์ของอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ
– ในบางองค์กรอาจพิจารณาออกแบบระบบสำหรับเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้เองโดยไม่ต้องอัพเดทข้อมูลไปเก็บไว้ภายนอก ซึ่งจะทำให้ผู้อื่นเข้าถึงข้อมูลได้ยากขึ้น แต่ก็ต้องแลกมากับค่าใช้จ่ายในการลงทุนจัดทำและการซ๋อมบำรุงระบบฐานข้อมูลดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

 

จากข้อมูลที่กล่าวมาจะพบว่าอุปกรณ์ IOT นั้นมีอยู่มากมายและบางอย่างก็อยู่ใกล้ตัวเรามากจนไม่ทันได้สังเกต สิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยหลักในการทำงานของอุปกรณ์เหล่านี้ ก็คือพลังงาน ทั้งพลังงานที่ใช้ในการทำงานเก็บข้อมูลและอ่านค่า พลังงานที่ใช้ในการส่งข้อมูล และพลังงานที่ใช้สำหรับสถานที่จัดเก็บระบบฐานข้อมูล
ทุกส่วนล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น หากระบบขาดพลังงานเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งไปก็จะทำให้การทำงานไม่สมบูรณ์และอาจไม่สามารถเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุด นอกจากนี้จะเห็นว่าในบางอุปกรณ์ก็มีการออกแบบให้ทำงานร่วมกับพลังงานสะอาดที่ผลิตพลังงานได้จากแสงอาทิตย์และจัดเก็บไว้ในแบตเตอรี่ ทำให้อุปกรณ์นั้นทำงานได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องพึ่งพาแหล่งจ่ายพลังงานอื่น เมื่อเป็นอย่างนี้การออกแบบและเลือกอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานสะอาด ให้สอดคล้องกับการใช้งานในอนาคตระยะยาวและการใช้งานในบางพื้นที่จึงเป็นสิ่งที่สมควรทำ รวมถึงการติดตั้งระบบพลังงานสำรอง หรือพลังงานสะอาดเพียงเล็กน้อยก็อาจช่วยให้ระบบและสถานที่ของเราสามารถทำงานได้ต่อเนื่องอย่างไม่รบกวนธรรมชาติอีกด้วย

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *